วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กิจกรรมท้ายบทที่ 2

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)

1.ทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ทฤษฏีหลักสูตร จะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นส่วน
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร  ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้  Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน


กิจกรรม (Acitivity)

2. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย: ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ  ความหมายหลักสูตร
กาญจนา คุณารักษ์ (2540: 14) กล่าวว่า “หลักสูตร” หมายถึง โครงการหรือแผนข้อกำหนดอันประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง กิจกรรมและวัสดุต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนมีความสามารถและเกิดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
ทาบา (Taba 1962: 10) กล่าวว่า “หลักสูตร” หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
จากนิยามข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า “หลักสูตร” หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้

ความหมายทฤษฎี
ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
                 ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 504) ให้ความหมายคำว่า “ทฤษฎี” หมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ
               แคปแลน (Kaplan, A. 1964) กล่าวไว้ว่า “ทฤษฎี” เป็นแนวทางที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลด้วยการกระทำอย่างมีประสิทธิผลในการทำความเข้าใจจากปรากฏการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งหรือปรับเปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันและทดแทนด้วยสถานการณ์ใหม่ที่ต้องการ     

ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
               ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้   Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
                ในกรณีที่มองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหา การจัดการเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ เซเลอร์ (J. Galen Saylor)   กาและอเล็กซานเดอร์ (William M. Alexander) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชาและเนื้อหาสาระดังนี้
1.ใช้การพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดหรือตัดสินว่าจะสอนวิชาอะไร
2.ใช้เกณฑ์บางอย่าง ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

3.วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม และใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน


์NPU MODEL นายณัฐพล บุญชาญ และ น.ส.วัชราภรณ์ ศรปราบ


NPU MODEL ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พิจิตรา ธงพานิจ


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กิจกรรมท้ายบทที่ 1



ตรวจสอบทบทวน(
Self-Test)

1.หลักสูตรมีความสำคัญหรือจำเป็นต่อการศึกษาหรือไม่อย่างไร
ตอบ   หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการจัดการศึกษา  การจัดการศึกษาประเภทและระดับใดก็ดีจะขาดหลักสูตรไปมิได้  เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกำหนดไว้ว่าจะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม  หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน  นอกจากนี้หลักสูตรยังเป็นเครื่องชี้ให้เห็นโฉมหน้าของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรอีกด้วย
       นักการศึกษาชาวอเมริกัน ได้กล่าวเน้นความสำคัญของหลักสูตรว่า “หลักสูตรเสมือนเครื่องนำทางให้เด็กไปสู่จุดมุ่งหมาย  หลักสูตรไม่ใช่เป็นแต่เพียงแนวทางการเรียนเท่านั้น ยังรวบรวมรายการและปัญหาต่างๆไว้อีกด้วยหลักสูตรไม่ใช่เนื้อหาวิชาแต่เป็นกิจกรรมทั้งหมดที่นำเข้ามาในโรงเรียน”
       ในการจัดการศึกษาที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นต้องอาศัยหลักสูตรเป็นเครื่องมือนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว  ถ้าปราศจากหลักสูตรเสียแล้วการจัดการศึกษาจะไม่มีวันสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ได้เลย  หลักสูตรจึงเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาทีเดียวซึ่ง
 ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์  (2539 : 11)  ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่าการที่จะทราบว่าการศึกษาในระดับต่างๆจะดีหรือไม่ดีสามารถดูจากหลักสูตรการศึกษาในระดับนั้นๆ    
ของประเทศเพราะหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติเข้าสู่การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆหลักสูตรจะเป็นเสมือนกับหางเสือที่จะคอยกำหนดทิศทางให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่งครูจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาและเป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ ถ้าประเทศใดมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัยและมีประสิทธิภาพคนในประเทศนั้นก็ย่อมมีความรู้  มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่
              จากความสำคัญของหลักสูตรดังกล่าว  พอสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
                   1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองให้มีคุณภาพ
                   2. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการจัดการศึกษา
                   3. หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การจัดการศึกษา
                   4. ในระดับโรงเรียนหลักสูตรจะให้แนวการปฏิบัติแก่ครู
                   5. หลักสูตรแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
                   6. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ว่า ผู้เรียนและสังคมควรจะได้รับสิ่งใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์แก่เด็กโดยตรง
                   7. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดว่า เนื้อหาวิชาอะไรบ้างที่จะช่วยให้เด็กมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างราบรื่น เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
                   8. หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดว่า วิธีการดำเนินชีวิตของเด็กให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและผาสุกเป็นอย่างไร
                   9. หลักสูตรย่อมทำนายลักษณะของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร
                   10. หลักสูตรกำหนดแนวทางความรู้   ความสามารถ ความประพฤติ ทักษะและเจตคติของผู้เรียนที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและชาติบ้านเมือง

 สรุปได้ว่า   หลักสูตรมีความสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษา เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียน อันเปรียบเสมือนแผนที่หรือเข็มทิศที่จะนำทางในการวัดการศึกษาให้บรรลุผล หลักสูตรที่ดีจะต้องมีความชัดเจนเหมาะสมกับผู้เรียนและสังคมซึ่งจะทำให้การนำหลักสูตรไปใช้หรือการจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพราะฉะนั้นในการจัดทำหรือการพัฒนาหลักสูตรจึงควรถือเป็นงานสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการเพื่อให้ได้หลักสูตรในระดับต่างๆ ที่ดีเพราะถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีถูกต้องเหมาะสมการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางในเรื่องการศึกษาจะเป็นไปโดยราบรื่นสามารถสร้างลักษณะสังคมที่ดีในอนาคตโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมืออย่างเต็มภาคภูมิ


กิจกรรม (activity)

1. อุปมาอุปมัย : เมื่อการศึกษาเปรียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์ หลักสูตรเปรียบได้กับสิ่งใด
ตอบ  หลักสูตรเปรียบเสมือนสายน้ำ น้ำเปรียบเสมือนความรู้ สายน้ำมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา สายน้ำแยกย่อยเป็นแม่น้ำหลายสาย สายน้ำแยกย่อยเป็นคูคลองมากมาย สายน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปตามสภาพภูมิประเทศและเหตุการณ์ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้น้ำก็จะพบว่ามีความเจริญงอกงามดี สภาพพื้นที่ ที่ต่างกันมีความจำเป็นที่ต้องการน้ำต่างกันด้วยเช่นกัน สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากรูปแบบทางธรรมชาติ   สายน้ำอาจเกิดขึ้นจากความต้องการของมนุษย์  มนุษย์ขุดคลองเพื่อใช้ทำการเกษตร  มนุษย์รู้จักการทำชลประทาน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  ไม่ว่าจะการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานหรืออย่างไร มนุษย์รู้จักการจัดการกับระบบเพื่อให้ระบบจัดการกับตนเองและได้ประโยชน์สูงสุด ระบบในการจัดการนี้จึงเปรียบเสมือนหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากความต้องการจำเป็นในเหตุผลต่างๆนานาประการ 
เราอาจเรียกต่างกันว่าสายน้ำ ลำน้ำ คูน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง  ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นสิ่งใดก็ตาม แต่ก็จะประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญก็คือน้ำ  น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต หากเปรียบดั่งความรู้ ความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิต ซึ่งหากปราศจากความรู้ ชีวิตคงไม่สามารถก้าวเดินไปเบื้องหน้าได้อย่างมั่นคง
หลักสูตรเป็นดั่งสายน้ำที่จัดรูปไปตามริ้วขบวนที่ความต้องการทางธรรมชาติเป็นผู้กำหนด สายน้ำแต่ละสายลดเลี้ยวไปในที่ๆต่างกันไปตามแรงสภาวะของธรรมชาติ คล้ายกับการออกแบบหลักสูตรเพื่อเป็นไปตามความต้องการของเป้าประสงค์ อาทิ การเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือการเรียนรู้แบบสังคมเป็นศูนย์กลางเป็นต้น  เมื่อธรรมชาติได้กำหนดทิศทางของสายน้ำแล้ว น้ำที่ไหลเรื่อยไปจึงถูกนำไปใช้เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุด การนำหลักสูตรไปใช้หรือการที่น้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์จึงอยู่ในมิติความหมายเดียวกัน เมื่อถึงขั้นตอนแห่งการประเมินผล ในทางหลักสูตรอาจดูจากผลที่ได้จึงสามารถประเมินค่าในการใช้หลักสูตรนั้นๆออกมาได้  หากแต่การเปรียบประเมินผลถึงสายน้ำแล้วคงไม่พ้น ดอก หรือผลของต้นไม้ในธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย   ต้นไม้แต่ละต้นยังเปรียบเสมือนผู้เรียนแต่ละคน  ต้นที่รับน้ำน้อยอาจมีลำต้นไม่ได้มาตรฐานหรือเกิดลักษณะบกพร่องไป  นอกเสียจากว่าต้นไม้บางประเภทอาจมีความต้องการบางอย่างที่ต่างออกไป แต่อย่างไรก็แล้วแต่คงไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ต้องการน้ำ เพียงแต่มากน้อยต่างกันไปตามองค์ประกอบของตนเท่านั้น
บทสรุปของการอุปมาอุปมัย  จากที่กล่าวมาข้างต้นสายน้ำสามารถเปรียบได้ถึงหลักสูตรที่จะนำพาน้ำอันเปรียบเสมือนความรู้ที่ถูกจัดอยู่ในกรอบกำหนดของขอบเขตสิ่งที่ไหลไปอย่างเป็นระบบมีและจุดหมายปลายทาง การออกแบบจะเป็นไปตามความต้องการของสภาพแวดล้อมและความต้องการนั้นๆ
ส่วนการประเมินผลสามารถรับรู้ได้จากผลของพืชและสิ่งมีชีวิตที่ได้ประโยชน์จากน้ำและสายน้ำนี้ หากมีความอุดมสมบูรณ์ดีหรือมีความผิดปกติบางประการอาจตรวจสอบได้จากน้ำที่ให้ประโยชน์หรือตรวจสอบจากดินและสภาพแวดล้อมรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขไปตามความถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์และเป้าหมายสูงสุดของความเจริญงอกงามนั่นเอง
        สายน้ำ  เปรียบเสมือน  หลักสูตร
        น้ำ  เปรียบเสมือน  ความรู้
        พืชพรรณและสิ่งมีชีวิต  เปรียบเสมือน  ผู้เรียน
        ดอกผลที่ได้    เปรียบเสมือน   ผลที่ได้จากการประเมิน



วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร


ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร
ซื่อสถาบันอุดมศึกษา        มหาวิทยาลัยนครพนม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา    คณะครุศาสตรั
1. รหัสและชื่อรายวิชา
31300305 การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum  Deverlopment)
2. จำนวนหน่วยกิต
หน่วยกิต (2-2-5)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
           หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
           หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาชีพครู (วิชาบังคับ)
4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
           ผู้ช่วยหาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
           e-mail Phichitrn.npu.ac.th
           Mobile Phone : 088-4555839
5. ภาคการศึกษาปีการศึกษา
          ภาคการศึกมาที่ 1/2562
6. รายวิชาที่ต้องเรียนว่าก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)  
         -
7. สถานที่เรียน
         ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
8. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
         รายวิชานี้ออกแบบไว้เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมาย  ดังนี้
8.1 มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร และ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
8.2 วิคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชา
8.3. มีทักษะในกระบวนการ พัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรการ
จัดหลัก สูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
8.4. มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
8.5. มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพหลักสูตร
9.คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมาย วิเคราะห์ อภิปรายถึงความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประเภทและองค์ประกอบ ของหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทยและต่างประเทศ การวางแผนและการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาและแนวโน้มในการ
พัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลหลักสูตร
10.จำนวนชั่วโมงที่ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
2ชั่วโมง/สัปดาห์
-
2ชั่วโมง/สัปดาห์
5ชั่วโมง/สัปดาห์

แนวคิดการ ปรับเปลี่ยนเอกสารคำสอน รายวิชาพัฒนาหลักสูตร เป็นผลจากการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา 4.0 ของนักศึกษา
วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ปีการศึกษา 2560
มีการกำหนดจุดหมาย และจำนวนชั่วโมง ดังนี้
ด้าน ความรู้ /ทักษะ         Need Analysis Planning              16 Hrs./
Praxis -Generating                      32 Hrs./
Understanding – Producing         16 Hrs. /
รวม จำนวน 64 ชั่วโมง
ออกแบบการสอน จำนวน 3 หน่วย
หน่วยที่ 1 การวางแผน (Planning Curriculum) ( จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
1. การศึกษา การพัฒนามนุษย์กับหลักสูตร
2. ทฤษฎีหลักสูตร
3. ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนา
4. การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่ 2 ตอนที่ 1 การออกแบบหลักสูตร (Generating Curriculum Design)
(จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
5. ประเภทของหลักสูตร
6. รูปเเบบการพัฒนาหลักสูตร
7. เเบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
หน่วยที่ 2 ตอนที่ 2 การจัดระบบหลักสูตร (Generating Curriculum.-Organization)
(จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
8. การนำหลักสูตรไปใช้
9. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หน่วยที่ 3 การประเมินผลหลักสูตร(ผลผลิตหลักสูตร-Producing)
(จำนวน 4 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง)
10. การประเมินหลักสูตร
11. ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
11.แผนการจัดการเรียนรู้
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อที่ใช้(ถ้ามี)
ผู้สอน
1
แนะนำรายวิชา
วางแผนการเรียนรู้ร่วม
การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร ความหมายคุณสมบัติความสำคัญองค์ประกอบลักษณะของหลักสูตรที่ดี
4
-บรรยาย/อภิปราย/สรุป
-ประมวลการสอน
ผศ.ดร.พิจิตรา
2
ทฤฎีหลักสูตร
การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีออกแบบหลักสูตร
ทฤษฎีออกแบบหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4
ผศ.ดร.พิจิตรา
3-4
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
ข้อมูลพื้นฐานสภาพปํญหา และแนวทางการแก้ในสังคม
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข้อมูลพื้นฐานทางสภาพสังคมในอนาคต
ข้อมูลพื้นฐานจากนักวิชาการจากสาขาต่าง
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียนชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตรเดิม
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
5-6
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยใชการเรียนรู้ในท้องถิ่น
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
7
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองของทาบา
แบบจำลองวงจรชองวีลเลอร์และนิโคลส์
แบบจำลองของวีลเลอร์
แบบจำลองนิวโคลส์
แบบจำลองของวอคเกอร์
แบบจำลองของสกิลเบค
แบบจำลองของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
แบบจำลองของพริ้นท์
แบบจำลองของโอลิวา
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
8
ประเมินผลระหว่างเรียน
4
สัปดาห์ที่1-สัปดาห์ที่7
ผศ.ดร.พิจิตรา
9-10
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรความหมายของการพัฒนาหลักสูตรหลักการพัฒนาหลักสูตร ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
11
ประเภทของหลักสูตร
-หลักสูตรบูรณาการ
-หลักสูตกว้าง
-หลักสูตรเสริมประสบการณ์
-หลักสูตรหลายวิชา
-หลักสูตรแกน
-หลักสูตรแฝง
-หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
-หลักสูตรเกลียวสว่าน
-หลักสูตรสูญ
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
12-13
การนำหลักสูตรไปใช้
หลักกรนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
8
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
14
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
15
การประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรของสเตค
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของสตัฟเฟิลบีม
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของไทเลอร์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของแฮมมอนด์
รูปแบบของการประเมินหลักสูตร
ของโพรวัส
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
16
ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
4
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
ผศ.ดร.พิจิตรา
17
ประเมินผลปลายภาค
(หมายเหตุเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดให้สอนไม่น้อยกว่า16 สัปดาห์)
-
ทดสอบแบบทดสอบ
ผศ.ดร.พิจิตรา
รวม
64


12. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โครงสร้าง-แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การพัฒนาลักสูตร                                                                   หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
คณะครุศาสตร์                                                                                     มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง....................................                                                                  เวลา 4 ชั่วโมง
____________________________________________________________________
สาระสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ NPU Leaning Paradigm
วัตถุประสงค์
            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการพัฒนาหลักสูตร ในประเด็นต่อไป
            1.การวางแผน (Planning Curriculum)
            2.การออกแบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
            3.ผลผลิตหลักสูตร(Producing)
เนื้อหา
สาระความรู้ในแต่ละบทเรียน(บทที่1-11)
หน่วยที่
เนื้อหาสาระ
1.การวางแผน (Planning Curriculum)
1.การศึกษา การพํฒนามนุษย์กับหลักสูตร
2.ทฤษฎีหลักสูตร
3.ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
4.การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
2.การออกแบหลักสูตรและจัดระบบ(Generating)
5.ประเภทของหลักสูตร
6.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
7.แบบจำลองหลักสูตร
8.การนำหลักสูตรไปใช้
9.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3.ผลผลิตหลักสูตร(Producing)
              
10.การประเมินหลักสูตร
11.ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ( 30-60 นาที)
1.ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ NPU 
Learning Paradigm เริ่มจากทบทวนเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน การเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียน
การสอนเบบสร้างความรู้
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ ให้สมาชิกในกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่เป็นประธาน เลขานุการ และสมาชิก
ขั้นจัดการเรียนรู้ (60-120 นาที)
2. นักศึกษาจับคู่และร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ เพื่อ
วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้ ความต้องการที่ผู้เรียนต้องการ ได้รับการตอบสนองในการศึกษาเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ
    2.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
    2.2 การกำหนดระดับคุณภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบของภาระงาน
นักศึกษาจะต้องร่วมกันกำหนดหรือระบุจุดมุ่งหมายและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้ โดยกำหนดหรือระบุเป็นสาระความรู้ Declarative kn0wledge หรือ
What student will understand และกำหนดหรือระบุเป็นทักษะ  Procedural knowledge หรือ what student will be able to do
3. นักศึกษาจับคู่ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในประเด็นเกี่ยวกับ
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ ทั้งในรูปแบบร่วมมือ และการเรียนรู้ร่วมกัน ประกอบต้วย 3 กิจกรรมย่อย คือ
    3.1 การออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์ในการเรียนร้ในยุคการศึกษา 4.0 เลือกผลิตภัณฑ์ในการเรียนรูที่เป็นสาระการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือเอกสาร (ใบความรู้) หรือสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ  และเสนอแนะ/การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
    ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เเบบนำตนเอง เป็น รายบุคคล เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloorn ขั้นความจำและความเข้าใจ
    3.2 การพัฒนาทักษะการเรียนร้ โดยสืบเสาะหาหรือจัด เตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนจากสื่อดิจิทัล การเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ที่เรียนรู้ได้จาก Mobilelearning
    ในข้นนี้ม่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เปนกลุ่มเพื่อนคู่คิด (จำนวน 2-3 คน)เพื่อบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom ขั้นความจำ ความเข้าใจ นำไปใช้
    3.3 การบูรณาการความรู้อาศัยความร่วมมือกัน เข้าร่วมกิจกรรมการ เรียนรู้เพื่อการบูรณาการความรู้(จัดลำดับขั้นตามแนวคิดของบลูม จำ-เข้าใจ-นำไปใช้-วิเคราะห์-สังเคราะห์-ประเมินค่า)
และฝึกวิพากษ์ความรู้
    ในขั้นนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย ( จำนวน 4-5 คน) เพื่อบรรลุจุดประสงค์การตาม Bloom ขั้นความจำ ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และ สร้างสรรค์
4. นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมในทัศน์การเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้ ตรวจสอบทบทวนความเข้าใจในการเรียนรู้ของตนเอง ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย คือ
    4.1 การตรวจสอบแบบย้อนคิดทบทวน การประเมินการเรียนรู้ของตนเองการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
    4.2 การประเมินความรู้เปรียบเทียบกับมาตรฐานการประเมินความ ก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy
ขั้นสรุป (30-60 นาที)
5. นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบคำถาม (ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ อาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การร่วมกัน
สรุปประเด็น ที่ได้จากการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการนำเสนอ (PowerPoint Presentation)
2. เอกสารคำสอนวิชาการพัฒนาหลักสูตร
3. บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนทัศน์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ในยุคการศึกษา 4.0 ของนักศึกษาวิชาชีพครู

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
2. ตรวจคำตอบตามประเด็นคำถาม

13.การประเมินผล
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
กรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทฤษฎีเและแนวปฏิบัติในการประเมินผลการศึกบาระดับอุดมศึกษาครั้งนี้ คือหลักการ ประเมินผลการ เรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดี: ทฤษฎีและหลักการ ที่เป็นผลการศึกษาวิจัยของเดวิด นีโคล (David Nic1University of Strathclyde) ซึ่งนำเสนอหลักการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อด้งนี้
1.ให้ความช้ดเจนว่าการปฏิบัติงานทีดีเป็น อย่างไร (เป้าหมายเกณฑ์การวัดเกณฑ์มาตรฐาน) ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง และหลังการประเมินผลเเค่ไหน
2. ให้ "เวลาและความพยายาม" กับการเรียน รู้สิ่งที่ท้าทายขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้รวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเองผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหน และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยไห้ผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้และปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและวินัยในตนเองขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการ เรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์เละการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อนเและครู-นัก เรียน )มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
6. อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียนขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล-เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือก ห้วข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ำหนักคะแนน กาหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล (งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงาน)ในรายวิชาทีสอน มีแค่ไหน)
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกียวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขตของข้อมูล ที่ผู้เรียนได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แเค่ไหน
10.ช่วยครูผู้สอนในการปรับการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
การประเมินผลจะมีหลักการกระบวนการการประเมินการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลต้องยืดตามจุดประสงค์การ สอนที่ชัดเจน
2. ขั้นนตอน และเทคนิคในการ ประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดเเข็งและใช้งานได้
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ

การประเมินผล







ดังนั้น
 การประเมินผลของรายวิชา กาหนดค่าน้ำหนักคะแนน และ ค่าระดับ( เกรด) ดังนี้
13.1ประเด็นการ ประเมินผลของ รายวิชา พร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
1. การสัมมนาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร                           ร้อยละ 10
2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ ความสนใจและเข้าชั้นเรียน                         ร้อยละ 10
3. การฝึกปฏิบัดิพัฒนาหลักสูตสถานศึกษา                                                  ร้อยละ 10
4. การนำเสนผลงาน                                                                           ร้อยละ 10
5. การประเมินความรอบรู้                                                                     ร้อยละ 20
 กลางภาคเรียน                                                                                  ร้อยละ 20
ปลายภาคเรียน                                                                                  ร้อยละ 30
13.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับ ช่วง(ร้อยละ)ของคะแนน

คะแนน (ร้อยละ)
เกรด
80-100
A
75-79
B+
70-74
B
65-69
C+
60-64
C
55-59
D+
50-54
D
ต่ำกว่า 50
F

15. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษา ในศตวรรษท 21.(2541) การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรูสภาลาดพร้าว.,
วิจารณ์ พานิช.(2555) วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิว Tyler, R. W. (1949) Basic Principles of Curriculum and InstructionChicago : University of Chicago 

 Press.