วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เกี่ยวกับบล็อค











บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร 

 โดย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช

สาขาหลักสูตรและการสอน
ผู้จัดทำ
นายณัฐพล  บุญชาญ

รหัสนักศึกษา 613150710200 ชั้นปีที่

และ

นางสาวัชราภรณ์   ศรปราบ

รหัสนักศึกษา 613150710168  ชั้นปีที่ 2

สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562








ความหมายการพัฒนาหลักสูตร

จงหาความหมายของคำว่าการพัฒนาหลักสูตรของนักการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นักการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร
ให้ความหมายว่า
สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 92)
     ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) จะมีความหมายครอบคลุมถึงการสร้างหลักสูตรการวางแผนหลักสูตรการปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นทั้งระบบ  ตั้งแต่จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
สงัด อุทรานันท์ (2532: 30)
     กล่าวคำว่า “การพัฒนา” หรือ คำในภาษาอังกฤษว่า “development”มีความหมายที่เด่นชัดอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การทำให้ดีขึ้น หรือ ทำให้สมบูรณ์ขึ้น และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง ทำให้เกิดขึ้น โดยเหตุนี้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจึงอาจมีความหมายได้ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ความหมายแรก หมายถึง การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น และอีกความหมายหนึ่งก็ คือ เป็นการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย


หัทยา เจียมศักดิ์ (2539: 12)
    ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น


สวัสดิ์ จงกล (2539: 19)
     ได้ให้ความหมายว่าการพัฒนาหลักสูตร คือ การเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่างๆเพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
กู๊ด (Good. 1973: 157)
    ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง 2.หลักสูตรหมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป 3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา 
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537: 12)
     ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
เนตรชนก  ฤกษ์หร่าย (2552,น.45-46)
      กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้เรียน พัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา รับผิดชอบตนเองและสังคมได้
เมทินี  จำปาแก้ว (2550,น.10)
กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยการนำหลักสูตรเดิมมาปรับ โดยการจัดการเรียนการสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนจัดทำหรือยกร่างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตร
สมนึก  ทองเพ็ชร (2552,น.8)
      กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมสอดคลองกับความต้องการของผู้เรียน ทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม ให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้
อรอนงค์  บุญแผน (2552,น.10)
กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การสร้างหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการที่พัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีนั้นจะต้องมีการใช้จริงแล้วผ่านกระบวนการประเมินหลักสูตรแล้วเห็นสมควรแล้วว่าจะต้องมีการปรับปรุง บางครั้งหลักสูตรที่ใช้อยู่อาจจะดีอยู่แล้วแต่ต้องการพัฒนาเพื่อไม่ให้หลักสูตรล้าหลัง


สังเคราะห์ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรของ นาย ณัฐพล  บุญชาญ

   ณัฐพล บุญชาญ ได้กล่าวความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ความหมายคือ    “การพัฒนา” หมาถึง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และคำว่า “หลักสูตร” หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษาหรือเค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน และ “การพัฒนาหลักสูตร”หมาถึง การสร้างหลักสูตรใหม่หรือการแก้ไขหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม